วันเสาร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

การประเมินคุณภาพสื่อการสอนและสื่อการเรียนรู้

พื้นฐานแนวคิด


การประเมินคุณภาพสื่อการสอน

    สื่อการสอน ได้แก่ บทเรียนโปรแกรม คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ชุดการสอน เป็นต้น
    แนวคิดการทดสอบประสิทธิภาพสื่อการสอนที่นิยมใช้ในปัจจุบันมี 2 แนวปฏิบัติคือ
         (1) ประเมินโดยอาศัยเกณฑ์ 
         (2) ประเมินโดยการเปรียบเทียบค่าทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน (ค่าดัชนีประสิทธิผล: EI)

(1) ประเมินโดยอาศัยเกณฑ์ 

    นิยมปฏิบัติใน 2 แนวทาง คือ 

         (1) ยึดเกณฑ์มาตรฐาน 90/90 ของเปรื่อง กุมุท

                       ใช้ประเมินสื่อประเภทบทเรียนโปรแกรม



              วิธีคำนวณค่าประสิทธิภาพสื่อ
                       1.สร้างตารางบันทึกผลการสอบหลังเรียนของผู้เรียน
                       2.ตรวจข้อสอบและกรอกผลการสอบของผู้เรียนแต่ละคน
                       3.พิจารณาผลการสอบเทียบกับเกณฑ์ตามวัตถุประสงค์
                       4.คำนวณประสิทธิภาพโดยใช้สูตร 



                              ΣX หมายถึง คะแนนรวมของผลสอบหลังเรียนของผู้เรียนแต่ละคน
                                N หมายถึง จำนวนผู้เรียนทั้งหมดที่ทดสอบ
                                R หมายถึง คะแนนเต็มของแบบทดสอบ
                                Y หมายถึง จำนวนผู้เรียนที่สอบผ่านทุกวัตถุประสงค์

        (2) ยึด E1/E2 ของชัยยงค์ พรหมวงศ์

                     ใช้ประเมินสื่อประเภทชุดการสอนและสื่อการสอนประเภทอื่นๆ ยกเว้น บทเรียนโปรแกรม ซึ่งมีวิธีการคำนวณดังนี้


                     E1 หมายถึง ค่าประสิทธิภาพของกระบวนการเรียนรู้
                     E2 หมายถึง ค่าประสิทธิภาพของผลลัพธ์การเรียนรู้
                    ΣX หมายถึง ผลรวมของคะแนนกิจกรรมระหว่างเรียนของผู้เรียนทุกคน (N คน)
                      N หมายถึง จำนวนผู้เรียนที่ใช้ในการประเมินประสิทธิภาพสื่อการสอนครั้งนี้
                       A หมายถึง คะแนนเต็มของกิจกรรมระหว่างเรียน
                       B หมายถึง คะแนนเต็มของแบบทดสอบหลังเรียน

(2) ประเมินโดยการเปรียบเทียบค่าทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน(ค่าดัชนีประสิทธิผล: EI)

      ดัชนีประสิทธิผลที่ใช้ได้ควรมีค่า 0.50 ขึ้นไป

       สูตรการหาค่าดัชนีประสิทธิผล จะเขียนในรูปของร้อยละ ซึ่งได้จากการคำนวณคะแนนดิบ



                                     E.I.  แทน ค่าดัชนีประสิทธิผล (Effectiveness index) 
                                    P1% แทน ร้อยละของผลรวมของคะแนนทดสอบก่อนเรียน
                                    P2% แทน ร้อยละผลรวมของคะแนนทดสอบหลังเรียน
       
         จะเห็นได้ว่า การประเมินสื่อการสอนนั้น วัดค่าได้เพียงเชิงปริมาณเท่านั้น หากจะนำไปปรับปรุงเพื่อพัฒนาสื่ออาจจะเป็นข้อมูลที่ยังไม่เพียงพอ

การประเมินคุณภาพสื่อการเรียนรู้

         มีการพิจารณาข้อมูลเชิงคุณภาพเพิ่มเติม ดังนี้




สรุปการนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการเรียนการสอน

           1.ผู้สอนสามารถนำวิธีการประเมินสื่อในรูปแบบต่างๆไปใช้ได้อย่างเหมาะสม เช่น การใช้เกณฑ์มาตราฐาน 90/90 ในการประเมินบทเรียนโปรแกรม การใช้เกณฑ์ E1/E2 ในการประเมินสื่อการสอนประเภทอื่นๆ
          2.ผู้สอนสามารถนำแนวทางการประเมินไปใช้ในการประเมินสื่อที่ตนเองจัดทำขึ้นและนำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนา ปรับปรุงสื่อต่อไปได้
          3.ทำให้ผู้สอนตระหนักถึงการประเมินที่นำไปสู่การพัฒนาและปรับปรุงสื่อ ไม่ใช่การประเมินคุณภาพสื่อเชิงปริมาณเพียงอย่างเดียว